อาเซียน (ASEAN) ในวันนี้ กับ AEC ในวันหน้า ???

By on February 8, 2013
  • Tweet
  • Pin It
Tweet
Pin It

อาเซียน

อาเซียน

ประชาคมอาเซียน (Association of South East Asia Nations : ASEAN) ก่อตั้งเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 เกิดจากการรวมตัวกันของประเทศสมาชิกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  เริ่มแรกมีประเทศที่เข้าร่วมก่อตั้ง 5 ประเทศ และในเวลาต่อมามีประเทศเข้าร่วมเป็นสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ ประเทศสมาชิกได้แก่ กัมพูชา, ไทย, บรูไนดารุสซาลาม, พม่า, ฟิลิปปินส์, มาเลเซีย, ลาว, สิงคโปร์, เวียดนาม, อินโดนีเซีย โดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง กล่าวโดยสรุปเป็น 3 ประเด็นดังนี้

  1. เพื่อการกินดี อยู่ดี บนพื้นฐานความเสมอภาคและผลประโยชน์ร่วมกันในหมู่สมาชิกทั้ง 10 ประเทศ
  2. เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างประเทศสมาชิก
  3. เพื่อสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยมีการพัฒนาอย่างสร้างสรรค์ในด้านสังคมและวัฒนธรรมของหมู่สมาชิก

และนำมาสู่เขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area : AFTA) โดยมีเป้าหมายคือ เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของประเทศสมาชิก เพิ่มอำนาจต่อรองของประเทศสมาชิกในการเจรจาระหว่างประเทศ ดึงดูดการลงทุน และเพื่อลดภาษีศุลกากรในกลุ่มสมาชิกให้เหลือน้อยที่สุด

และท้ายที่สุดนำมาสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) เกิดจากความร่วมมือกันทั้งในรูปพหุภาคีและรูปแบบทวิภาคี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้อาเซียนมีตลาดและฐานการผลิตเดียวกันและมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน  เงินทุน และแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี โดยมีกลุ่มสหภาพยุโรป หรือ Euro Zone เป็นต้นแบบ ซึ่งมีการจัดทำแผนงาน AEC Blueprint (แบบพิมพ์เขียว) ไว้เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ ด้วยกัน 4 ด้าน คือ

  1. การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน
  2. การเป็นภูมิภาคที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง
  3. การเป็นภูมิภาคที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่เท่าเทียมกัน
  4. การเป็นภูมิภาคที่มีการบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก

โดยจะเริ่มมีผลจริงๆจังๆ ณ วันที่ 1 มกราคม 2558 ณ วันนั้นจะทำให้ภูมิภาคนี้เปลี่ยนไปอย่างมาก ในฐานะที่เราเป็นหนึ่งในประเทศสมาชิกควรเริ่มเตรียมความพร้อมตั้งแต่วันนี้ โดยประเทศไทยต้องเร่งพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพให้กับผู้ประกอบการในไทยและส่งเสริมให้เกิดฐานการผลิตที่มีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง เพื่อนำไปสู่อำนาจการต่อรองและการแข่งขันทางการค้ากับประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ติดตามข่าวสารความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับ AEC อยู่เสมอ รวมถึงศึกษาตลาดและรสนิยมความต้องการในอาเซียน ตลอดทั้งสร้างความแตกต่างให้กับสินค้า โดยพยายามใช้ จุดแข็งที่มีอยู่ และมองหาโอกาสที่เปิด กว้างขึ้นไปพร้อม ๆ กับการชิงความได้เปรียบจากความสมบูรณ์ทางด้านทรัพยากรของประเทศและต้นทุนแรงงานที่ต่ำ ภาครัฐและภาคเอกชนควรวางแผนร่วมกันอย่างจริงจัง เพื่อเตรียมการรองรับ AEC และเร่งแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม และสิ่งที่เราควรเตรียมตัวตั้งแต่เนิ่นๆก็คือภาษาอังกฤษ ซึ่้งเป็นภาษากลางในการติดต่อสื่อสาร ทั้งนี้เพื่อให้เราติดต่อสื่อสารกับประเทศอื่นๆรู้เรื่อง  ดังนั้นเรื่อง AEC จึงถือเป็นเรื่องใหญ่ที่ธุรกิจและคนไทยต้องปรับตัวและเตรียมพร้อมให้ดี โดยเริ่มปฏิบัติตั้งแต่วันนี้

 

อาเซียน

อาเซียน

อาเซียน

อาเซียน

อาเซียน

อาเซียน

อาเซียน

อาเซียน

About charme.in.th

You must be logged in to post a comment Login